วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15 วันที่27/09/2554

สวัสดีค่ะ อาจารย์จ๋าและเพื่อนทุกคน
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้
อาจารย์สอนและได้สรุปเนื้อหาที่ได้เรียนมาเกี่ยวกับวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนร่วมกันสรุปเป็น Mind Mapping ไว้ดังนี้



และจากนั้นอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ วิธีการประเมินผลเด็กปฐมวัย ว่ามีวิธี คือ
1. ประเมินจากการสังเกต
2.ประเมินจากการสนทนาซักถาม
3.ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน
ประเมินจากผลงาน

จากนั้นอาจารย์ได้นัดนักศึกษาทุกคนมาสอบในวันที่อังคารที่ 4 ตุลาคม 25554 เวลา 09.00 น. ห้อง 233 และอาจารย์ได้นัดตรวจบล็อกในวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2554 และได้ปิดคลอสการเรียนวิชานี้ ในวันนี้ค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 วันที่20/09/2554

สวัสดีค่ะ อาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานการเขียนแผนเป็นกลุ่มที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ในสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจดูแผนที่แต่ละกลุ่มเขียนและให้คำแนะนำในการเขียนแผนที่ถูกต้องและยกตัวอย่างให้ฟังจากแผนที่ได้เขียนมาพร้อมกัน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่า ในช่องกิจกรรม ขั้นนำของการสอนให้เปลี่ยนจากการสนทนาพูดคุย เป็นการนำด้วยการร้องเพลง คำคล้องจอง ดีกว่าการพูดคุยกันเพราะจะทำให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนมากขึ้น
จากนั้นเกิดเหตุการรณ์ที่ไม่ค่อยดีเกิดขึ้นเนื่อง มีเพื่อนเป็นลมในห้อง ทำให้อาจารย์ได้หยุดการสอนในทันที และได้ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่เพื่อนและนำเพื่อนส่งโรงพยาบาล
บรรยากาศในการเรียนวันนี้ วันนี้ดิฉันมีอาการง่วงนอนมาก ดิฉันเผลอหลับไปหลายครั้ง ทำให้อาจารย์ถามว่าวันนี้นักศึกษาเป็นอะไรกันหรือป่าว ทำไมไม่สดชื่น ทุกคนนั่งเงียบเหงา ไม่มีความสนุกสนานในการเรียนไม่มีสนทนาพูดคุยกับอาจารย์ อาจารย์ถามอย่างเป็นห่วง และรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาและได้คำปรึกษาที่ดีแก่นักศึกษาทุกคน และในช่วงต่อมามีความตกใจ เพราะมีเพื่อนเป็นลมในห้องเรียนและได้ช่วยกันนำเพื่อนส่งโรงพยาบาลค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 วันที่13/09/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนๆทุกคน
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้
อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวของคือ
- สิ่งรอบตัว สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
-สิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก คือ
1. สิ่งที่เกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา
2.บุคคลและสถานที่ เช่น ครอบครัว ญาติพี่น้อง ชุมชน สังคม วัฒนธรรม
3.ธรรมชาตรอบตัว เช่น สิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิต คุณสมบัติ การสำรวจ
4.สิ่งต่างๆรอบตัว เช่น วัตถุสิ่งของ เครื่องใช้ ของเล่น
สมรรถนะ
ด้านร่างกาย คือ การใช้กล้ามเนื้อต่างในการทำกิจกรรม ในการเล่น
ด้านอารมณ-จิตใจ คือ ดนตรีและเพลง
ด้านสังคม คือ การช่วยเหลือตัวเอง การปรับตัวเข้ากับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา คือ ทางภาษา ทางคณิตศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การทดลอง การสำรวจ การสังเกต และทาง สร้างสรรค์
การบูรณาการทักษะวิทยาศาสตร์กับสาระวิทยาศาสตร์
1.ศิลปะสร้างสรรค์
2.เกมการศึกษา
3.เล่นเสรี
4.เคลื่อนไหวและจังหวะ
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.เสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้เนื้อหาสาระกับทักษะต่างๆเกิดเป็นกระบวนการทางวิทยาศาตร์
การเขียนแผน อาจารย์ได้สอนการเขียนแผน คือ
วันจันทร์ ตัวตน ลักษณะ รูปร่าง
วันอังคาร แหล่งที่มา
วันพุธ ประโยชน์
วันพฤหัสบดี โทษ
วันศุกร์ การดูแลรักษา
จากนั้นอาจารย์ได้ร่างตารางการเขียนแผนให้ดู และให้กลับไปเขียนแผนเป็นกลุ่ม กลุ่มละหน่วย นำมาส่งในคาบต่อไปค่ะ
บรรยากาศในการเรียนวันนี้ มีบรรยากาศในการเรียนที่ดี อากาศดี มีความสนุกสนานในการเรียน มรการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาที่มีความสนุกสนาน ทำให้มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนดีมากขึ้นค่ะ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 วันที่ 06/09/2554

สวัสดีค่ะ
สำหรับวันนี้ ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากไม่สบายค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 วันที่ 30/08/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์ และเพื่อนๆทุกคน
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานที่ให้กลับไปแก้ไขให้สมบูรณ์ คือ ของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน แล้วก็ส่งงานโครงการทีทำเป็นกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของดิฉัน ทำเรื่องรถ และงานการจัดบอร์ดของบางกลุ่มที่อาจารย์ให้กลับไปแก้ไข จากนั้นได้อธิบายว่าทำไมเราต้องเอาขวดน้ำพลาสติกมาทำเป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ เพราะ
-เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
-เป็นของที่หาได้ง่าย
- เป็นของเหลือใช้ นำไปขายสร้างรายได้ นำกลับไปแปลงสภาพกลับมาใช้ใหม่ได้
และอาจารย์ได้อธิบายว่าทำไมเราต้องทำโครงการ เราทำโครงการเพื่อให้เข้าใจรายละเอียดของสิ่งที่จะทำได้ดีขึ้น และอาจารย์ได้สอนอีกว่า วิทยาศาสตร์ต้องสอนแบบ โครงการ เพราะเป็นสิ่งรอบตัวและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิม เรื่องการทำโครงการ อาจารย์พูดถึงการทำโครงการของแต่ละกลุ่มและได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ ที่ต้องประกอบไปด้วย
-สาระ/ความรู้
-ประสบการณ์สำคัญ
-วิธีการเรียนรู้และพัฒนาของเด็ก
จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนเพื่อกลับไปคิดหน่วยในการสอน และคิดกิจกรรมในการสอนแต่ละวัน โดยแต่ละวันต้องมีชื่อผู้รับผิดชอบ คือ
วันจันทร์ เรื่องลักษณะ
วันอังคาร เรื่องมาจากไหน
วันพุธ เรื่องประโยชน์
วันพฤหัสบดี เรื่อง โทษ
วันศุกร์ เรื่อง การดูแลรักษา และทุกวันต้องมีชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ให้นำมาส่งในคาบถัดไป และอาจารย์ให้กลับไปเลือกดูโทรทัศน์ครูมา 1 เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาลิงค์ลงบล็อกค่ะ


บรรยากาศในการเรียนวันนี้ บรรยากาศในเรียนมีความสนุกสนาน มีความสุขกับการเรียนดีค่ะ อากาศในห้องเรียนเย็นสบาย ทำให้น่าเรียนดีค่ะ

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 วันที่ 23/08/2554

สวัสดีค่ะอาจารย์และเพื่อนทุกคน
สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สอนในเรื่องของการจัดกิจกรรม ในเรื่องของการจัดกิจกรรมต้องมี
-หลักการ
-มีความหลากหลาย
-มีการวางแผน คือ การเขียนแผน มีวัตถุประสงค์
- มีระยะเวลา
และอาจารย์ได้สอนในเรื่องของการเขียนโครงการ คือ การเขียนโครงการมี 3 ระยะด้วยกันคือ
ระยะที่ 1 อยากรู้เรื่องอะไร
ระยะที่ 2 การศึกษาแบบลุ่มลึก
ระยะที่ 3 การนำเสนอผลงาน
และต่อมาอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างการทำโครงการเรื่องนาฬิกา คือ นาฬิกามาจากไหน มีสีอะไรบ้าง มีขนาดและรูปร่างอะไรบ้าง ราคาเท่าไร มีโลโก้อะไร มีกีประเภท วัสดุที่ใช้ทำมีอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร แล้วเราก็นำสิ่งเหล่านี้มาเขียนสเป็นโครงการเรื่องนาฬิกา มีการศึกษาอย่างลุ่มลึกในแต่ละเรื่อง แล้วก็นำเสนอผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย นี้คือหลักของการเขียนโครงการค่ะ
ต่อมาอาจารย์ให้ส่งบอร์ดที่อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปจัดมา ซึ่งกลุ่มของดิฉัน ทำเรื่องของบุหรี่ อาจารย์ให้ส่งและมีบางกลุ่มที่ต้องกลับไปแก้ไข ให้ถุกต้องและสมบูรณ์ แล้วนำมาส่งอีกครั้งในคาบต่อไปค่ะ







สำหรับบรรยากาศในการเรียนในวันนี้ บรรยากาศเย็นสบายดี น่าเรียน มีความสนกสนานในการเรียน แต่มีบางช่วงที่ดิฉันรู้สึกง่วงนอน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดี